Google
 

Intro.

"ร่างกายคนเรามีจุรินทรีย์ ทั้งที่มีและไม่มีประโยชน์ หากจุรินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์มากเกินไปร่างกายจะอ่อนแอ ดังนั้น เราควรเติมจุรินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสมดุลและปรับสภาพเข้าสู่ภาวะปกติ"

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ผักคาวตองกับภูมิคุ้มกัน

ผักคาวตองกับภูมิคุ้มกัน

การศึกษาวิจัยสรรพคุณของผักคาวตองต่อระบบภูมิคุ้มกันนั้น มีประเด็นที่น่าสนใจคือ การเสริมภูมิคุ้มกัน แม้ว่าขณะนี้การศึกษาวิจัยเพื่อทราบกลไกการทำงานด้านเสริมภูมิคุ้มกันในระดับเซลล์มีน้อย แต่มีรายงานการวิจัยที่น่าสนใจของ Dayong Wang และคณะที่ศึกษาในหนูถีบจักร พบว่า sodium houttuyfonale ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่าง sodium bisulfite และ houttuyinin (polymer ของน้ำมันระเหยง่าย) ช่วยเพิ่มการสร้างแอนติบอดี้ และช่วยเสริมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด macrophage เช่น การจับกินสิ่งแปลกปลอม โดยเพิ่มปริมาณของ lysosomal enzyme ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ macrophage ใช้ย่อยทำลายสิ่งแปลกปลอม ได้แก่ acid phosphatase, lysozyme และเพิ่มปริมาณการสร้าง IL-1 โดย macrophage นอกจากนี้ ยังเสริมการเพิ่มจำนวนของลิมโฟซัยท์ และเพิ่มปริมาณการสร้าง IL-2 ด้วย คณะวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ของผักคาวตองต่อเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของคนในหลอดทดลอง พบว่าสามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ และได้ทำการศึกษาฤทธิ์ของพลูคาวแคปซูล (cordex) และยาตำรับสมุนไพรงวงตาล (naturplex) ซึ่งมีผักคาวตองเป็นองค์ประกอบ ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม พบว่าช่วยเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวของคนปกติในหลอดทดลองได้เช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ผักคาวตองกับมะเร็ง

รายงานการวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผักคาวตองที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง1. ฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็ง ( Cytotoxicity against tumor cell lines )
มีรายงานการวิจัยว่า aristolactam B, piperolactam A, aristolactam A, norcepharadione B, cepharadione B, และ splendidin ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ที่แยกได้จากส่วนเหนือดินของผักคาวตองแสดงฤทธิ์ปานกลางในหลอดทดลองในการทำลายเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยง 5 ชนิด คือ เซลล์มะเร็งปอด ,เซลล์มะเร็งรังไข่ ,เซลล์เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย , เซลล์มะเร็งสมอง และ เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่

2. ฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Antileukemic activity )
เมื่อนำเซลล์เพาะเลี้ยงเม็ดเลือดขาว ( leukemic cell lines ) 5 ชนิด ได้แก่ L1210 ,U937,K526,Rajaและ P3HR1 ไปเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีส่วนสกัดด้วยน้ำของผักคาวตอง พบว่าสารสกัดผักคาวตองมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของ leukemic cell lines ทั้ง 5 ชนิด

ในประเทศจีน มีการใช้ผักคาวตองเป็นส่วนประกอบในตำรับยาผงสำหรับรับประทาน ใช้ในการรักษามะเร็งทางเดินอาหารและมะเร็งทางเดินหายใจ รวมไปถึงเนื้องอกในรังไข่ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ใช้ผักคาวตองเป็นส่วนประกอบในตำรับยาสำหรับรักษามะเร็งปอด เป็นส่วนประกอบในตำรับยาจีนซึ่งกล่าวว่ามีสรรพคุณในการกำจัดความร้อนและสารพิษ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และใช้รักษามะเร็งหลอดอาหาร เป็นการยับยั้งและทำลายเซลล์มะเร็ง ทั้งยังเพิ่มภูมิต้านทาน และถ้าใช้ทาภายนอกเป็นการรักษาเต้านมอักเสบ รักษาอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้รังสีรักษา และเคมีบำบัด ทั้งนี้ผักคาวตอง ใช้เป็นยารักษาได้ทั้งชนิดรับประทาน และทาภายนอกได้
สารเคมีที่แยกได้จากผักคาวตองนั้นมีคุณสมบัติหลากหลายสรุปโดยสังเขปดังนี้

สารเคมี คุณสมบัติ

ทำลายเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง
Aristolactam A
• Aristolactam B
• Pipenolactan A
• Norcepharadione B
• Cepharadione B
• Splendidin

ต้านอักเสบโดยยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์ Cyclooxygenase
Cepharanone B
• Aristolactam A
• Pipenolactan A
• Norcepharadione B


• ยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในเซลล์เพาะเลี้ยง
• N-decyladehyde
• N-dodecyladehyde
• Me-n-nonyl ketone

• ต้าน staphylococcus และรา
• ยับยั้งการเจริญของ H influenza, pneumococcus, S aureus


• Decanoyl acetyladehyde

• ยับยั้งเชื้อ HSV-1 ,influenza และ HIV-1 และในหลอดทดลอง

• Methyl n-noyl ketone
• Lauryl aldehyde
• Capryl aldehyde

• ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
• รักษาเต้านมอักเสบในวัว

• Houttuyinin sodium bisulphate

• ทำให้หลอดเลือดขยายตัว
• quercetin •



ที่มา :
สมุนไพรน่ารู้ 1 ผักคาวตอง โดย สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550

คาวตอง - สุดยอดสมุนไพรไทย

คาวตอง (Houttuynia cordata Thunb)

ไม่มีสรรพคุณใด ๆ ทางเคมียาที่ใช้ในการรักษาแผนปัจจุบัน( Anti – biotic) ไม่สามารถรักษาโรคได้ คาวตอง เป็นเพียงผู้สนับสนุนให้ยามเฝ้าชีวิตของเรา ซึ่งก็คือเม็ดเลือดขาว เพิ่มปริมาณ และประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านการติดเชื้อ และอาการอักเสบ หรือจะบอกว่าเป็นผู้ดูแล( Probiotic ) ก็ว่าได้ พลูคาวหรือผักคาวตอง เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับ พลู และพริกไทย ลำต้นสูงประมาณ 10 – 30 Cm. มีกลิ่นคาว ขึ้นอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย ใช้ได้เป็นอาหารแกล้ม และเสริมสร้างสุขภาพ


ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของคาวตอง

1. ฤทธิ์ทางการเสริมภูมคุ้มกัน กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเม็ดเลือดขาว และช่วยให้เม็ดเลือดขาว ( macrophage ) ทำงานได้ดีขึ้น
2. ฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยงทั่วไป 5 ชนิด คือ ปอด (a-549) สมอง (xf-498) เนื้อร้าย (sk-mel-2) รังไข่ (sk-ov-3) ลำไส้ใหญ่ (hct-15) และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว 5 ชนิด l1210 – u937 – k526 – raja – p3 hr 1
3. ฤทธิ์ฆ่าเชื่อไวรัส ชนิด hsv-1 hiv-1 และ influenza virus โดยไม่ทำลาย host cell
4. ฤทธิ์ด้านเชื่อรา และแบคทีเรีย หลายชนิด h. influenza , s. aurous , mold และยีสต์
5. ฤทธิ์ด้านการอักเสบปอดบวม โดยยับยั้งการสร้าง prostaglandin ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบปอดบวม6. ฤทธิ์ขับปัสสาวะ


ชื่อเรียกอื่นๆ มีมากมายทั่วโลก เช่น
Houttuynia cordata Thunb.
SYNONYM(S) : Gymnotheca chinensis Decne., Polypara cochinchinensis Lour.
CHINESE : Ji cai (Taiwanese tsi ts'ai), Yu xing cao (medicinal name).
DANISH : Houttuynia.
DUTCH : Houttuynia.
ENGLISH : Chinese lizard tail, Fish mint, Fish plant, Fishwort, Heartleaf , Himalayan spinach, Lizard's tail, Edible houttuynia, Heartleaf houttuynia, Vietnamese fish plant, White chaplu, Wild houttuynia.
FRENCH : Hottonie, Houttuynie.
GERMAN: Buntblatt, Chinesischer Eidechsenschwanz.
JAPANESE : Dokudami.
KOREAN : 약모밀 .LAOTIAN : Phak khao thong.
NEPALESE : Gandhe, Gane.
RUSSIAN : Xауттюйния сердцевидная, Хоуттуиния.
SLOVENIAN : Hutujnija.
SWEDISH : Hoyttynia.
THAI : ผักก้านตอง Phak kan tong, ผักคาวทอง Phak khao tong, ผักคาวตอง Phak khao tong (Northern Thailand), ผักเข้าตอง Phak khao tong, พลูแก Phlu kae (Central Thailand). พลูคาว
VIETNAMESE : Diếp cá, Giấp cá, Ngư tinh thảo, Rau dap ca, Vap ca.
FRENCH : Houttuynie à fleurs doubles.
ENGLISH : Coriander-scented houttuynia, Chinese houttuynia, Vietnamese houttuynia, Chinese lizard tail.
DANISH : Kamæleonblad.
DUTCH : Bonte houttuynia.
ENGLISH : Chameleon plant, Variegated houttuynia.
FRENCH : Houttuynia cordata panaché, Houttuynie caméléon, Houttuynie panachée.
GERMAN: Bunter Houttuynia, Chamäleonpflanze.
SWEDISH : Kameleontblad.

ชื่ออื่น ๆ ที่มีโดยทั่วโลก เนื่องจากรูปร่างใบ หรือ กลิ่น ได้แก่ “heartleaf”(ใบรูปหัวใจ) “fishwort” (กลิ่นปลาหมัก) “lizard tail” (ปลายใบเรียวแหลมคล้ายหางจิ้งจก) หรือ สายพันธุ์ใบด่าง (variegated cultivars) ที่นิยมใช้เป็นไม้ประดับเนื่องจากมีสีครีมและแดงแซมเป็นลายบนแผ่นใบสีเขียว ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามสภาพแสง หรืออุณหภูมิ คล้ายพวก chameleon จึงมักเรียกว่า “chameleon plant” ด้วย

ลำดับชั้นตามการจำแนกพืช PLANTS Classification Report.
Kingdom
Plantae – Plants
Subkingdom
Tracheobionta – Vascular plants
Superdivision
Spermatophyta – Seed plants
Division
Magnoliophyta – Flowering plants
Class
Magnoliopsida – Dicotyledons
Subclass
Magnoliidae
Order
Piperales
Family
Saururaceae – Lizard's-tail family
Genus
Houttuynia Thunb. – houttuynia
Species
Houttuynia cordata Thunb. – chameleon

เบื้องต้นคณะนักวิจัยได้นำพลูคาวจากแปลงเกษตรอินทรีย์ที่สวนดอยหลวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกพลูคาวตามระบบเกษตรอินทรีย์กว่า 30 ไร่ มาวิจัยและทดลองผลิตเป็นยาน้ำสมุนไพรบำรุงร่างกาย โดยผ่านกรรมวิธีการหมักและผสมผสานระหว่างศาสตร์ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมกับเทคโนโลยีชีวภาพ (NanoTechnology) ใช้สมุนไพรพลูคาวเป็นสารตั้งต้น
หลังจากที่สกัดเป็นยาน้ำ และผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมแล้ว ได้นำยามาทดลองในผู้ป่วยมะเร็ง 5 ชนิด คือ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปากมดลูก เนื้องอกบริเวณสมอง และเนื้องอกของ Soft tissue sarcoma โดยให้ผู้ป่วยดื่มบำรุงร่างกาย และใช้ร่วมกับการรักษาของคณะแพทย์โดยการฉายรังสี ปรากฏว่า สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ป่วยมะเร็งได้ ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มากขึ้นทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและยืดอายุของผู้ป่วยได้นานขึ้นด้วย ซึ่งดีกว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว
ในปี 2548 นี้ ได้ส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปทดลองตลาดในกลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียูและสิงคโปร์พบว่าได้รับการตอบรับจากลูกค้าที่เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยค่อนข้างมาก มีมูลค่าการส่งออกรวมกว่าประมาณ 25 ล้านบาท แบ่งเป็น อียู 15 ล้านบาท สิงคโปร์ประมาณ 10 ล้านบาท สำหรับปี 2549 นี้ ได้ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าส่งออกไว้ ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท โดยมีตลาดส่งออกหลัก คือ กลุ่มอียู และลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม หากใช้รักษาควบคู่กับการฉายรังสีซึ่งเป็นวิธีแพทย์แผนปัจจุบัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มากยิ่งขึ้น
จากประสิทธิภาพของพลูคาวที่ผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศเริ่มยอมรับ และเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำให้ขณะนี้มีคณะแพทย์และเภสัชกรจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มหันมาสนใจที่จะศึกษาวิจัยสมุนไพรพลูคาวเพิ่มเติม รวมกว่า 10 โครงการวิจัย เพื่อเป็นความหวังและต่ออายุให้กับผู้ป่วยมะเร็งในอนาคต

ประเทศไทยมีพืชผักสมุนไพรหลากหลายชนิด ที่มีสรรพคุณทางยารักษาโรค โดยทั่วไปในพืชผักสมุนไพรจะมีสารเคมีในพืช ( Phytochemical)หลายชนิด มากน้อยแตกต่างกันไปในพืชแต่ละชนิด กลุ่มของสารเคมีในพืชที่มีความสำคัญเป็นสารออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา หรือยารักษาโรค ประกอบด้วย..
1. กลุ่มแอลคาลอยด์ (Alkaloid) เป็นสารมีรสขม เช่นอะโทรปิน (atropine) จากลำโพง, สตริกนิน (stychnine) จากโกฐกะกลิ้ง, มอร์ฟีน จากฝิ่น ,คอร์ดาริน (Cordarine) จากผักคาวตอง เป็นต้น
2. กลุ่มกลัยโคไซด์ (Glycoside)
3. กลุ่มน้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil) มีประมาณ 35 ชนิด ในผักคาวตอง
4. กลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เช่น รูติน (Rutin) และไฮเปอริน (Hyperin) ในผักคาวตอง
5. กลุ่มกรดไขมัน (Fatty acid) เช่นกรดไลโนเลนิก และ ไลโนเลอิก ในผักคาวตอง
6. กลุ่มสเตอรอล (Sterrols) มี 4 ชนิด ในใบและรากของผักคาวตอง
7. และสารประกอบอื่นๆ อีกมากมาย

ประโยชน์ของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์จุลินทรีย์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตไม่ใช่พืชไม่ใช่สัตว์ มีขนาดเล็กมองด้วยตาปล่าวไม่เห็น มีเซลล์เดี่ยวอยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ และอยู่เป็นกลุ่ม ๆ (colony) ได้แก่ แบคทีเรียสาหร่าย รา และโพรโทซัว เป็นต้นจุลินทรีย์มีทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ (Probiotic Bacteria) และชนิดที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย เช่นโรคต่างๆ

ปัจจุบันได้มีการศึกษาพบว่า มีจุลินทรีย์ในกลุ่มของแบคทีเรีย แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus spp.) หลายสายพันธ์ ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่เพียงแต่การช่วยย่อยอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการสร้างและทำงานของเม็ดเลือด ช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย ควบคุมระดับไขมันหรือ ครอเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของม้าม และป้องกันการเกิดเนื้องอกที่ลำไส้และเต้านม ช่วยรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ช่วยทำลายแบคทีเรียที่เป็นโทษต่อร่างกาย และตัวมันเองยังสร้างวิตามินบี (จำเป็นต่อหลอดเลือดหัวใจ) และ วิตามิน เค (สร้างความแข็งแรงให้กระดูก) ในร่างกาย

การใช้ประโยชน์จากการจากจุลินทรีย์ที่ไปย่อยพืชผักและสมุนไพร พลูคาว จะได้น้ำสกัดพืชผักสมุนไพรชีวภาพ ที่ประกอบด้วยทั้งส่วนที่มาจากพืชผักสมุนไพรคือสารอาหารและสารธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า ไพโตเคมีคอล (Phytochemical) และส่วนที่ได้จากจุลินทรีย์ ทั้งจากที่ยังมีชีวิต และ ซากของจุลินทรีย์ ที่อุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามิน ฮอร์โมน เอนไซม์ และกรดแลคติก เป็นต้น

ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ จะเป็นส่วนที่มีกากอาหารสะสมอยู่เพื่อรอการขับถ่ายออกไป บริเวณนี้ จะมีเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ทั้งชนิดดีและไม่ดี อาศัยอยู่ภายในเพื่อย่อยสลายกากอาหาร จุลินทรีย์ชนิดดี คือ แลคโตบาชิลลัส จะย่อยสลายกากอาหาร ให้ได้สารที่มีประโยชน์ ส่วนจุลินทรีย์ชนิดเลว จะย่อยสลายกากอาหาร และได้สารที่ไม่ดี เป็นผลเสียอย่างสะสมต่อสุขภาพ ในภาวะของร่างกายที่ปกติ จุลินทรีย์ชนิดดีจะมีมากกว่า แต่เมื่อร่างกายได้รับอาหารที่มีสารปนเปื้อน,ภาวะตึงเครียดและสภาวะแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย ตลอดจนการรับยาปฎิชีวนะ เหล่านี่จะทำให้จุลินทรีย์ชนิดดีตายไป แต่จุลินทรีย์ชนิดเลวมีมากขึ้น ผลก็คือ จะเกิดสารพิษหมักหมมอยู่ในลำไส้ใหญ่ พลูคาวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ดี เสริมสร้างปริมาณและคุณภาพของจุลินทรีย์ชนิดดี ส่งผลให้เกิดภาวะสมดุลของร่างกาย ระหว่างจุรินทรีย์ชนิดดีและไม่ดี, มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เนื่องจากมีสารเควซิติน (Quercetin) ซึ่งมีผลขยายหลอดเลือดฝอย ทำให้การไหลเวียนของเลือดและปัสสาวะเพิ่มขึ้น และมีฤทธิ์อื่น ๆ ได้แก่ ระงับปวด ห้ามเลือด เร่งการเจริญของเซลล์ ควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกาย มีผลระงับอาการไอ แต่ไม่มีฤทธิ์ขับเสมหะ และระงับอาการหอบ

สำหรับในตำราไทยโบราณของเรานั้น ใช้ใบพลูคาวแก้กามโรค หนองใน เข้าข้อออกดอก เป็นแผลเปื่อยพุพอง ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้โรคผิวหนัง แก้พิษแมลงป่อง พอกฝี ซึ่งชาวเหนือเชื่อว่าใบขับพยาธิได้ ส่วนในตำรายาจีน พลูคาวทั้งต้นมีสรรพคุณขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบในทางเดินปัสสาวะ ระงับเชื้อโรคหลายชนิด รวมทั้งยังมีรายงานระบุถึงการใช้พลูคาวในการรักษาโรคเอดส์ โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นๆ ตลอดจนใช้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อไวรัสเริม ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังมีรายงานวิจัยระบุว่า สีแดงใต้ใบของพลูคาวมีสารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย และต้านทานเนื้องอก พร้อมกับไปขับพิษที่จะเป็นสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย แต่สารนี้อาจจะมีคุณภาพไม่คงทนหรือไม่คงที่ อีกทั้งยังไม่พบรายงานการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับคุณสมบัติต้านมะเร็งของพลูคาวอย่างเป็นทางการ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ยังต้องมีการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนต่อเนื่องต่อไปอีก

แต่จะเห็นได้ว่า ในตำราต่างๆ ไม่ได้มีการระบุถึงผลเสียของพลูคาวเอาไว้เลย หากพิจารณาสารบางชนิดที่อยู่ในพลูคาว ซึ่งอาจจะมีคุณประโยชน์ในการเป็นยาได้จริง แต่หากร่างกายสะสมเอาไว้มากเกินไปก็อาจจะมีผลในทางลบเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้น จึงถือว่ายังไม่เพียงพออย่างเด็ดขาดที่จะนำมารักษาโรคมะเร็งแบบเดี่ยวๆ ตัวเดียว จะต้องยึดถือเป็นหลักว่า การรักษาด้วยวิธีใดควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมทั้งในด้านผลการรักษา และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด หรือหลงเชื่อตามคำโฆษณา จนลืมพิจารณาข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ไป

ผักคาวตองกับฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส

ผักคาวตองกับฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส

สำหรับผักคาวตองมีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส โดยใช้ plaque reduction assay พบว่าส่วนสกัดด้วยน้ำของผักคาวตองทั้งต้นไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ herpes simplex virus แต่น้ำมันระเหยง่ายที่สกัดจากผักคาวตองซึ่งมีองค์ประกอบของ n-decylaldehyde, n-dodecylaldehyde และ Me-n-nonyl ketone สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส influenza ในเซลล์เพาะเลี้ยง และยังพบว่าน้ำมันระเหยง่ายที่ได้จากการกลั่นด้วยไอน้ำของผักคาวตองสดซึ่งมีองค์ประกอบหลักเป็น methyl n-nonyl ketone, lauryl aldehyde และ capryl aldehyde มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ herpes simplex virus type 1 (HSV-1), influenza virus และ human immunodeficiency virus type 1 (HIV-1) แต่ไม่ทำลายโฮสเซลล์ (cytotoxicity) และไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ poliovirus and coxsackie-virusในประเทศจีนมีการใช้ผักคาวตองเป็นส่วนผสมในตำรับยารักษาโรคที่เกิดจากไวรัสซึ่งมีการจดสิทธิบัตรไว้หลายรายการ เช่น ตำรับยารักษาการติดเชื้อจาก cytomegalovirus ในคน เป็นส่วนผสมในตำรับยาต้าน influenza virus เป็นส่วนผสมในตำรับยาใช้ในการป้องกันและรักษาอาการโรคที่เกิดจากไวรัสในไก่ โดยใช้ผสมในอาหารหรือน้ำดื่มที่ใช้เลี้ยงไก่ (CN1411833) เป็นส่วนผสมในตำรับยาน้ำรับประทาน สำหรับลดไข้ รักษาโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง (CN1110580) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาใช้รักษาการติดเชื้อเฉียบพลัน หวัด ไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้อทางเดินหายใจ (CN1302638) เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้นใช้ทา (liniment) รักษาโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คางทูม ต่อมทอมซิลอักเสบ และปอดอักเสบในเด็ก

Statistic