Google
 

Intro.

"ร่างกายคนเรามีจุรินทรีย์ ทั้งที่มีและไม่มีประโยชน์ หากจุรินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์มากเกินไปร่างกายจะอ่อนแอ ดังนั้น เราควรเติมจุรินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสมดุลและปรับสภาพเข้าสู่ภาวะปกติ"

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ผักคาวตองกับภูมิคุ้มกัน

ผักคาวตองกับภูมิคุ้มกัน

การศึกษาวิจัยสรรพคุณของผักคาวตองต่อระบบภูมิคุ้มกันนั้น มีประเด็นที่น่าสนใจคือ การเสริมภูมิคุ้มกัน แม้ว่าขณะนี้การศึกษาวิจัยเพื่อทราบกลไกการทำงานด้านเสริมภูมิคุ้มกันในระดับเซลล์มีน้อย แต่มีรายงานการวิจัยที่น่าสนใจของ Dayong Wang และคณะที่ศึกษาในหนูถีบจักร พบว่า sodium houttuyfonale ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่าง sodium bisulfite และ houttuyinin (polymer ของน้ำมันระเหยง่าย) ช่วยเพิ่มการสร้างแอนติบอดี้ และช่วยเสริมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด macrophage เช่น การจับกินสิ่งแปลกปลอม โดยเพิ่มปริมาณของ lysosomal enzyme ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ macrophage ใช้ย่อยทำลายสิ่งแปลกปลอม ได้แก่ acid phosphatase, lysozyme และเพิ่มปริมาณการสร้าง IL-1 โดย macrophage นอกจากนี้ ยังเสริมการเพิ่มจำนวนของลิมโฟซัยท์ และเพิ่มปริมาณการสร้าง IL-2 ด้วย คณะวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ของผักคาวตองต่อเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของคนในหลอดทดลอง พบว่าสามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ และได้ทำการศึกษาฤทธิ์ของพลูคาวแคปซูล (cordex) และยาตำรับสมุนไพรงวงตาล (naturplex) ซึ่งมีผักคาวตองเป็นองค์ประกอบ ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม พบว่าช่วยเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวของคนปกติในหลอดทดลองได้เช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ผักคาวตองกับมะเร็ง

รายงานการวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผักคาวตองที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง1. ฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็ง ( Cytotoxicity against tumor cell lines )
มีรายงานการวิจัยว่า aristolactam B, piperolactam A, aristolactam A, norcepharadione B, cepharadione B, และ splendidin ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ที่แยกได้จากส่วนเหนือดินของผักคาวตองแสดงฤทธิ์ปานกลางในหลอดทดลองในการทำลายเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยง 5 ชนิด คือ เซลล์มะเร็งปอด ,เซลล์มะเร็งรังไข่ ,เซลล์เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย , เซลล์มะเร็งสมอง และ เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่

2. ฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Antileukemic activity )
เมื่อนำเซลล์เพาะเลี้ยงเม็ดเลือดขาว ( leukemic cell lines ) 5 ชนิด ได้แก่ L1210 ,U937,K526,Rajaและ P3HR1 ไปเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีส่วนสกัดด้วยน้ำของผักคาวตอง พบว่าสารสกัดผักคาวตองมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของ leukemic cell lines ทั้ง 5 ชนิด

ในประเทศจีน มีการใช้ผักคาวตองเป็นส่วนประกอบในตำรับยาผงสำหรับรับประทาน ใช้ในการรักษามะเร็งทางเดินอาหารและมะเร็งทางเดินหายใจ รวมไปถึงเนื้องอกในรังไข่ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ใช้ผักคาวตองเป็นส่วนประกอบในตำรับยาสำหรับรักษามะเร็งปอด เป็นส่วนประกอบในตำรับยาจีนซึ่งกล่าวว่ามีสรรพคุณในการกำจัดความร้อนและสารพิษ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และใช้รักษามะเร็งหลอดอาหาร เป็นการยับยั้งและทำลายเซลล์มะเร็ง ทั้งยังเพิ่มภูมิต้านทาน และถ้าใช้ทาภายนอกเป็นการรักษาเต้านมอักเสบ รักษาอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้รังสีรักษา และเคมีบำบัด ทั้งนี้ผักคาวตอง ใช้เป็นยารักษาได้ทั้งชนิดรับประทาน และทาภายนอกได้
สารเคมีที่แยกได้จากผักคาวตองนั้นมีคุณสมบัติหลากหลายสรุปโดยสังเขปดังนี้

สารเคมี คุณสมบัติ

ทำลายเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง
Aristolactam A
• Aristolactam B
• Pipenolactan A
• Norcepharadione B
• Cepharadione B
• Splendidin

ต้านอักเสบโดยยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์ Cyclooxygenase
Cepharanone B
• Aristolactam A
• Pipenolactan A
• Norcepharadione B


• ยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในเซลล์เพาะเลี้ยง
• N-decyladehyde
• N-dodecyladehyde
• Me-n-nonyl ketone

• ต้าน staphylococcus และรา
• ยับยั้งการเจริญของ H influenza, pneumococcus, S aureus


• Decanoyl acetyladehyde

• ยับยั้งเชื้อ HSV-1 ,influenza และ HIV-1 และในหลอดทดลอง

• Methyl n-noyl ketone
• Lauryl aldehyde
• Capryl aldehyde

• ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
• รักษาเต้านมอักเสบในวัว

• Houttuyinin sodium bisulphate

• ทำให้หลอดเลือดขยายตัว
• quercetin •



ที่มา :
สมุนไพรน่ารู้ 1 ผักคาวตอง โดย สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข

Statistic